FAQ
เนื่องจากระบบอนุญาตการจ้างงาน ตอนที่ร้องขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานได้รวมถึงจำนวนครั้งของการเปลี่ยนสถานที่ทำงานด้วยหรือไม่?
- เมื่อได้รับใบอนุญาตการจ้างงานจากศูนย์การจ้างงานแล้ว สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับแรงงานต่างด้าวจะถูกจัดทำขึ้นตามพระราชบัญญติการจ้างงาน มาตรา 25 วรรค 1 นั้น ข้อจำกัดการจ้างงานที่อยู่ในสถานที่ทำงานได้รับการวินิจฉัยเป็นเหตุผลในการเปลี่ยนสถานที่ทำงาน
แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการเปลี่ยนสถานะวีซ่าจาก D-3 เป็น E-9 ตามพระราชบัญญัติแรงงานต่างด้าว
- การแก้ไขพระราชบัญญัติการเข้าประเทศ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ปี 2007 โดยผู้ถือวีซ่า ประเทศที่ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลเกาหลีใต้เรื่องการอนุญาตให้เข้ามาทำงาน จะถูกเปลี่ยนสถานะเป็นวีซ่า E-9 หลังจากสิทธิในการพำนักอาศัยสิ้นสุดลง
หากเกิดการใช้ความรุนแรงในที่ทำงาน จะสามารถยื่นขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานได้หรือไม่?
- ตามพระราชบัญญัติการจ้างงานแรงงานต่างด้าว มาตรา 25 วรรค 1 หากแรงงานต่างด้าวยื่นขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานสามารถดำเนินการได้ตามกฏภายในของบริษัท
- ในกรณีที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อแรงงานต่างด้าวคือ หากบริษัทยอมรับว่าบุคคลเหล่านั้นไม่สามาถทำงานอีกต่อไปได้ จึงจะสามารถยื่นขอเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงานได้
เนื่องจากการเจ็บป่วยของแรงงานต่างด้าว สามารถเปลี่ยนแปลงโยกย้ายที่ทำงานได้หรือไม่?
- หากพบว่าแรงงานได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางผิวหนังและมีอาการผิวหนังแห้ง และหลังจากนั้นทำงานอุตสาหกรรมประมงอาจจะมีผลทำให้โรคผิวหนังนั้นแย่ลงเพราะว่าคงเป็นการยากหากจะต้องหลีกเลี่ยง ลักษณะพิเศษของอุตสาหกรรมการประมงคือ ลมและอิทธิพลของน้ำทะเล เป็นเรื่องยากหากแรงงานจะทำงานในอุตสาหกรรมประมง ก็จะอนุญาตให้สามารถเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงานไปเป็นสายงานด้านอื่นแทน
- แต่ทว่า การเปลี่ยนแปลงสายงานนั้นถูกจำกัดได้แค่สายงานเกษตรกรรมเท่านั้น
※ ดังตัวอย่างข้างต้น ในกรณีที่สามารถอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสายงาน ต้องได้รับการอนุมัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วบของแรงงานต่างด้าวเสียก่อน
บุคคลคนต่างด้าวที่ถือวีซ่าอุตสาหกรรมหลังจากได้เปลี่ยนสายงานแล้วจะสามารถขอเปลี่ยนกลับเป็นวีซ่าอุตสาหกรรมอีกครั้งได้หรือไม่?
- หากแรงงานต่างด้าวทั่วไปที่เดินทางเข้ามาด้วยสายงานอุตสาหกรรมนั้น ตอนที่ร้องขอเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงาน ไปยังอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน จากอุตสาหกรรมเป็นเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง หรือก่อสร้าง ผู้ที่ยื่นขอเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงานระหว่างสายงานที่ได้รับการอนุมติ สามารถเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงานได้ หากว่าระหว่างทีทำงานในสายงานนั้นมีเหตุผลที่เพียงพอ
หากยื่นขอเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงานแล้วยังไม่ได้รับการตอบกลับ และจะมีการให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานต่างด้าวหรือไม่ หากระยะเวลาการยื่นขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานได้เลยกำหนดมา 1 เดือน?
- ถึงแม้ศูนย์การจัดจ้างงานจะได้รับรายงานการขอเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงานแล้ว และการขอเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างด้าวนั้นไม่ได้ถูกดำเนินการก็ตาม ก็จะถูกเพิ่มเข้าไปในรายชื่อเป็นระยะๆ หลังจากการเปลี่ยนงานภายใน 1 เดือน ที่ยื่นขอเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงานจะมีการดูแลเป็นพิเศษ
หากว่าแรงงานต่างด้าวที่ได้ยื่นขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานนั้นไม่สามารถหาที่ทำงานใหม่ได้ภายในระยะเวลา จะมีการช่วยเหลือใดใดแก่บุคคลเหล่านั้นหรือไม่? (ในกรณีที่ไม่สามารถหาที่ทำงานใหม่ได้ภายในระยะเวลาการหางาน)
- ผู้ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงาน(หาที่ทำงานใหม่)ได้ ภายใน 3 เดือน หากว่าระยะเวลาการหางาน 3 ปี หรือ 4 ปี 10 เดือนนั้นสิ้นสุดลงแรงงานต่างด้าวจะต้องเดินทางกลับประเทศตนเอง
การช่วยเหลือการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ทำงานและช่วยให้ออกจากงานที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสถานที่ทำงานที่มี่การ_เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุงาน
- กรณีแรงงานได้รับบาดเจ็บและได้รับการดูแลเป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อเท็จความจริง มีกรณีตัวอย่าง ที่แรงงานไม่สามารถทำงานที่บริษัทต่อไปได้แล้วนำใบยื่นขอเปลี่ยนแปลง โยกย้ายสถานที่ทำงานและรายงานการออกจากงานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง นไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีตัวอย่าง กรณีแรงงานที่ผิดกฏหมายสามารถยื่นขอเปลี่ยนสถานะเป็นแรงงานที่ถูกกฏหมายได้
เงินชดเชยคือ?
- สำหรับแรงงานผู้ออกจากบริษัทหลังจากที่ทำงานต่อเนื่องครบ 1ปีขึ้นไป นายจ้างจะต้องดำเนินการจ่ายเงินตามค่าเฉลี่ย 30 วันของการเข้ารับการฝึกอบรมของแรงงาน 1 ปี
ไม่สามารถรับเงินชดเชยได้ในกรณี?
- ในกรณีที่แรงงานต่างด้าวสมัครใจออกจากงาน การออกจากงานของแรงงานต่างด้าวที่ทำงานต่อเนื่องไม่ครบ 1 ปี จะไม่สามารถได้รับเงินชดเชย
- ไม่สามารถขอรับเงินประกันการออกเดินทางคืนได้
เงินประกันสิ้นสุดการกลับประเทศ เงินชดเชย มีวิธีการคำนวณอย่างไร?
- การบังคับใช้พระราชบัญญัติการจ้างงานแรงงานต่างด้าว ตาม มาตรา 21 วรรค 3 : ตามวรรค 2 เงินประกันการเดินทางออก ตามจำนวน ณ เวลานั้น พระราชบัญญัติค่าเผื่อการออกจากงานของแรงงาน ตามมาตรา 8 วรรค 1 ในกรณีที่น้อยกว่าเงินชดเชย ในส่วนผลต่างนั้นต้องจ่ายคืนให้กับแรงงานต่างด้าว
การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานคือ?
- นายจ้าง หัวหน้า หรือพนักงานที่ใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ กระทำ หรือปฏิบัติดังต่อไปนี้
- 1) การกระทำที่ก่อให้เกิดความอัปยศอดสู หรือถูกคุกคามทางเพศโดยทางวาจาและร่างกาย
- 2) การล่วงละเมิดทางเพศโดยทางวาจาและร่างกาย หรือการร้องขอด้วยเหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับการทำงานและการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
เกณฑ์ในการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานคือ?
- การล่วงละเมิดทางเพศทางวาจาและร่างกาย
- 1) การกระทำทางร่างกาย
- เช่น การจูบ กอด หรือการถูกกอดจากทางด้านหลัง หรือการกระทำทางร่างกาย
- 2) การกระทำทางวาจา
- หรือ เช่น การพูดจาลามากอนาจาร ล้อเล่น การกระทำผ่านทางคำพูด (รวมทั้งการโทรศัพท์)
- 3) การกระทำทางการมอง
- เช่น การโพสต์ หรือการดู รูปภาพ ภาพวาดลามกอนาจาร
- 4) และการใช้ภาษา การกระทำซึ่งนำมาซึ่งความอัปยศอดสูทางเพศ หรือความรู้สึกเกลียดชัง
กรณีการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
- การให้ออกจากงาน การตัดเงินเดือน การไม่เลื่อนขั้น หรือการทำให้เสียเปรียบเพียงฝ่ายเดียว
การป้องกันและการต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน จะกระทำได้อย่างไร?
- วิธีการจัดการการล่วงละเมิดทางเพศ
- 1) แสดงการปฏิเสธอย่างชัดเจนไปยังผู้กระทำ
- 2) เก็บหลักฐาน
- เช่น วัน เวลา สถานที่ จดบันทึกไว้อย่างละเอียด
- 3) ร้องเรียนถึงการกระทำและขอคำปรีกษาไปยังหัวหน้า
- 4) รายงานการล่วงละเมิดทางเพศให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน
- - เบอร์โทรหลัก : 1644-3119
แอฟพลิเคชั่นมือถือ : รายงานความไม่สอดคล้องของการทำงานของแอฟพลิเคชั่น
- อินเทอเนต : www.moel.go.kr หรือ m.moel.go.kr
บริการช่วยเหลือทางการแพทย์
- แรงงานต่างด้าวสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลฟรีจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
Medical Assistance
ขอบเขต |
ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ค่าผ่าตัด(ไม่รวมค่าบริดารผู้ป่วยนอก) |
โรงพยาบาลที่กำหนด |
ศูนย์การแพทย์แห่งชาติ โรงพยาบาลตามต่างจังหวัด(34 แห่ง) โรงพยาบาลกาชาด (6 แห่ง) สถาบันการแพทย์ที่ได้รับการรับรอง (17 แห่ง) รวมทั้งหมด 57 แห่ง |
ขอบเขตการดูแล |
สำหรับการเจ็บป่วยธรรมดา ออกค่าใช้จ่ายให้ ไม่เกิน 5 ล้านวอน สำหรับกรณีที่เป็นการเจ็บป่วยร้ายแรง ถ้าหากสถานพยาบาลมีการพิจาณาว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมก็จะออกค่าใช้จ่ายให้เต็มจำนวนถึง 10 ล้านวอน (สำหรับจำนวนเงินที่เกิน 10 ล้านวอน จะออกให้ 80% จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด) |
เอกสารที่ต้องใช้ |
หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะผู้ที่ถือบัตร) |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
ศูนย์สุขภาพและสวัสดิการ Call Center 129 ทั่วประเทศ |
ความผิดทางอาญา
- หากเป็นการกระทำความผิดเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นความผิดทางอาญาที่รุนแรงหรืออาชญากรรมที่รุนแรง แต่หากก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือขัดต่อบทบัญญัติสาธารณะ
Categories of Minor Offenses Subject to Fines
บทลงโทษ |
เช่น การฝ่าฝืนการทิ้ง ก้นบุหรี่ หมากฝรั่ง กระดาษทิชชู่ ขยะ |
การถุยน้ำลายลงบนพื้นถนนหรือการปัสสาวะในที่พื้นที่สาธารณะ |
การไม่รับผิดชอบต่อการปัสสาวะหรืออุจจาระของสุนัข |
การทำลายธรรมชาติ เช่น การเด็ดดอกไม้ที่สวนสาธารณะหรือการขีดเขียนแกะสลักลงบนต้นไม้ |
การขวางถนน หรือการโต้เถียงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร |
การส่งเสียงดังรบกวน เช่น เปิดโทรทัศน์ วิทยุ หรือเครื่องดนตรี |
การตะโกนโหวกเหวก หรือร้องเพลงเสียงดัง |
การแซงคิว เช่น ที่สถานีรถไฟใต้ดิน ป้ายโดยสารรถประจำทาง อื่นๆ |
การถูกทำร้าย เช่น อาชญากรรม
- การทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ หรือการบุกรุกเข้าสถานที่ของผู้อื่น การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น จะต้องถูกดำเนินคดีและได้รับบทลงโทษ
Assault and Other Crimes
ตัวอย่าง |
ทันทีที่พนักงานร้านเนื้อย่างยกเลิกการสั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนาย "A" นาย "A" ได้เข้าไปว่ากล่าวด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพ และทำร้ายพนักงานร้านเนื้อย่าง นาย "A" จึงถูกดำเนินคดี (เดือน 5 ปี 2012) |
กักขังหน่วงเนี่ยวและทำร้ายเพื่อนร่วมงานที่ไม่คืนเงินยืมสำหรับการเล่นการพนัน ทั้ง 4 คน รวมทั้ง นาย B ถูกตัดสินจำคุก (เดือน 5 ปี 2009) |
กลุ่มแก๊งที่การกระทำความรุนแรงทั้ง 6 คน รวมถึงนาย C ถูกตัดสินจำคุก (เดือน 6 ปี 2011) |
ความผิดทางจราจร
- หากเป็นการกระทำความผิดเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นความผิดทางอาญาที่รุนแรงหรืออาชญากรรมที่รุนแรง แต่หากก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือขัดต่อบทบัญญัติสาธารณะ
Traffic Violations
บทลงโทษ |
แยกแยะให้ชัดเจนระหว่างทางเท้ากับทางรถและใช้รถบนทางรถเท่านั้น |
การเดินข้ามถนนโดยไม่ใช้ทางม้าลายหรือสะพานลอยข้ามถนน |
การวางวัตถุใดๆที่เป็นอุปสรรคกีดขวางการจราจร |
การเดินบนท้องถนนในขณะเมาไม่ได้สติ |
การนอน นั่งหรือยืนอยู่บนท้องถนนในลักษณะที่ขัดขวางการจราจร |
การโยนสิ่งของใดๆออกมาจากรถยนต์ในขญะที่กำลังขับขี่อยู่บนท้องถนน |
การไม่สวมหมวกกันน็อคของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือไม่รัดเข็มขัดนิรภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ |
การขับขี่รถยนต์โดยไม่มีใบอนุญาตขับรถ |
การขับขี่รถยนต์ขณะเมาสุรา |
อาชญากรรมการพนัน
- การเล่นพนันเดิมพัน ไม่รวมถึงการเล่นพนันเพื่อความสนุกสนานนั้นจะต้องได้รับการลงโทษตามกฏหมาย หากพบว่าเป็นการทำผิดจนเป็นวิสัยจะถูกดำเนินคดีเพิ่มขึ้น
Gambling Crimes
ตัวอย่าง |
นาย A และ นาย B รวมทั้งพวกอีก 18 คนได้เปิดบ่อนสำหรับแรงงานต่างด้าว มีเครื่องเล่นไพ่นกกระจอก 6 เครื่อง ได้ถูกดำเนินคดี (เดือน 6 ปี 2012) |
นาย A ได้ทำการติดตั้งเครื่องเล่นไพ่นกกระจอกนำเข้าจากจีนที่ร้านอาหารและทำงานในคาสิโน กับพวกอีก 13 คนและ ผู้เล่นพนันอีก 84 คน ถูกจำคุก (เดือน 12 ปี2010) |
การทำงานในสถานบัญเทิงสำหรับผู้ใหญ่
- การดื่มแอลกอฮอล์ ร้องเพลง หรือเต้นรำให้ความบันเทิงสำหรับผู้ใหญ่ในคาราโอเกะ การชักชวนหรือแนะให้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดจะต้องได้รับการลงโทษ
- หากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง หรือเข้าร่วมกับสถานบันเทิงแบบผู้ใหญ่ จะถูกบังคับให้ออกจากงานได้